Total Pageviews

Saturday, October 4, 2014

ตอนที่ 1 พื้นฐานของการเคลื่อนไหว

ตอนที่ 1 พื้นฐานของการเคลื่อนไหว



       สวัสดีครับ สำหรับตอนแรกผมจะมาพูดถึงการทำงานของกล้ามเนื้อที่ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวแบบ functional movement นะครับ โดยทั่วไปแล้วเมื่อเราพูดถึงคำว่า functional movement เราจะนึกถึงการทำงานของกล้ามเนื้อหลายๆมัด ที่จะทำให้เกิดการเคลื่อนไหว เช่น การซักผ้า การหยิบแก้วน้ำ การเขียนหนังสือ เป็นต้น ตัวอย่างที่ยกมาข้างต้นนี้จัดเป็นแค่การเคลื่อนไหวภายนอก หรือที่เรียกว่า " Extrinsic function " แต่ก่อนที่จะเกิดการเคลื่อนไหวแบบใดแบบหนึ่งขึ้นนั้น ต้องประกอบไปด้วยการเคลื่อนไหวภายใน หรือ Intrinsic function ร่วมกันถึง 3 กลไก คือ กลไกด้านกายภาพ (Physiological), กลไกด้านกลศาสตร์ (biomechanical) และ กลไกด้านระบบประสาท (neuromuscular function)


กลไกด้านกายภาพ (Physiological)      
      กลไกทางด้านกายภาพจะขึ้นอยู่กับโครงสร้างของการเคลื่อนไหวนั้นๆ โดยตรง ซึ่งสามารถประกอบไปด้วย กล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ กระดูก และเนื้อเยื่ออื่นๆ ประกอบกันขึ้นมาจนสามารถเคลื่อนไหวได้ โดยเมื่อเราทราบการทำงานด้านนี้จะทำให้เราสามารถเข้าใจระยะเวลาในการซ่อม และสร้างกล้ามเนื้อ (healing process) เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนการรักษาได้อีกด้วย 



กลไกด้านกลศาสตร์ (biomechanical)
       กลไกทางด้านกลศาสตร์จะเป็นตัวช่วยบอกปัญหาที่เกิดจากการเคลื่อนไหวโดนตรง โดยวิเคราะห์จาก
oseteokinematics และ arthrokinematics ที่จะเปลี่ยนแปลงไปตามการเคลื่อนไหวนั้นๆ ซึ่งเมื่อเราเข้าใจการทำงานในด้านนี้จะทำให้เราสามารถวิเคราะห์ความผิดปกติของการเคลื่อนไหวนั้นๆ ได้อย่างง่ายดาย และยังเชื่อมโยงไปยังโครงสร้างที่เกี่ยวข้องได้อีกด้วย เช่น เมื่อเราทำการยกแขนจะมีการทำงาน ของ Spine และ thoracic cage ร่วมด้วยเป็นต้น



กลไกด้านระบบประสาท (neuromuscular function)
       ระบบประสาทสั่งการเป็นตัวสั่งการให้กล้ามเนื้อมีการทำงาน โดยมีการส่งกระแสมาจากระบบประสาทรับความรู้สึก และทำการปรับการเคลื่อนไหวให้เหมาะสมกับเป้าหมายของการเคลื่อนไหว โดยจะมีระบบที่ทำการควบคุมเรียกว่า
sensiromotor เช่น Proproception ,Reflex ฯลฯ  และนอกจากนี้ยังเกี่ยวกับกระบวนการเรียนรู้และ กระบวนการควบคุมการเคลื่อนไหว (motor control &motor learning) อีกด้วย ซึ่งการเข้าใจกระบวนการนี้จะทำให้เราเข้าถึงการฝึก ทำให้การฝึกมีประสิทธิภาพมายิ่งขึ้น

http://thebrain.mcgill.ca/flash/d/d_06/d_06_cr/d_06_cr_mou/d_06_cr_mou_4a.jpg
      
       เห็นแล้วว่ากระบวนการเคลื่อนไหวภายในทั้งสามอย่างนี้เมื่อรวมกันจะเกิดเป็นการเคลื่อนไหวภายนอกเกิดขึ้น หากระบบใดระบบหนึ่งเกิดสูญเสียไปก็จะทำให้การเคลื่อนไหวนั้นผิดแปลกตามไปด้วย อาทิเช่น Case Frozen shoulder เมื่อมีการติดขัดของโครงสร้างภายในจะทำให้ไม่สามารถยกแขกได้ตามปกติ ร่างกายจะทำการ compensate เอากล้ามเนื้อมัดอื่นมาทำหน้าที่แทน เมื่อพยายามจะยกแขนให้สูงขึ้นในระดับเท่าเดิม
       ดังนั้นในฐานะที่เราเป็นนักกายภาพบำบัด เราควรที่จะวิเคราะห์ถึงโครงสร้างภายในของคนไข้ร่วมกับการมองการเคลื่อนไหวภายนอกโดยรวม และใช้กระบวนการให้เหตุผลทางคลินิกมาทำการวางแผนการรักษาเพื่อให้ได้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพ และส่งผลดีต่อคนไข้มากที่สุด

Reference : Assessment and treatment of muscle imbalance : the Janda approach / Phil Page, Clare Frank, Robert Lardner.

No comments:

Post a Comment