ตอนที่ 3 เมื่อไหร่ที่นักกายภาพบำบัดควรตรวจประเมินคนไข้ ?
สวัสดีครับหลังจากได้ทราบหลักการคร่าวๆ
ในการตรวจประเมินอาการทางกายภาพบำบัดไปแล้ว ต่อมาในตอนที่ 3
นี้นายชาลีขอพูดถึงการตรวจประเมินคนไข้บ้างว่า เมื่อไหร่ที่เราจำเป็นต้องตรวจประเมินคนไข้
1. ครั้งแรกที่นักกายภาพบำบัดพบกับคนไข้
ใช่ครับ ในครั้งแรกที่เราเจอคนไข้หากเราไม่แม้แต่จะพูดกับคนไข้เลยคงจะไม่ได้ การสอบถามประวัติ อาการแสดง ระยะเวลาที่เกิดอาการ และอื่นๆ ทำให้เราสามารถวินิจฉัย และวางแผนการรักษาความผิดปกติเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสามารถตั้งเป้าหมายร่วมกับคนไข้ได้อีกด้วย
ใช่ครับ ในครั้งแรกที่เราเจอคนไข้หากเราไม่แม้แต่จะพูดกับคนไข้เลยคงจะไม่ได้ การสอบถามประวัติ อาการแสดง ระยะเวลาที่เกิดอาการ และอื่นๆ ทำให้เราสามารถวินิจฉัย และวางแผนการรักษาความผิดปกติเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังสามารถตั้งเป้าหมายร่วมกับคนไข้ได้อีกด้วย
2. ระหว่างการทำการรักษา
การตรวจประเมินความเหมาะสมระหว่างการรักษาก็สำคัญ
เนื่องจากเราจำเป็นต้องปรับการรักษาไปตามอาการของคนไข้
ดูว่าการรักษานี้ตอบสนองต่อคนไข้อย่างไร และปรับใช้ตามสภาพของคนไข้ เช่น
หากคนไข้ปวดมากขึ้น นักกายภาพบำบัดจำเป็นต้องเปลี่ยนวิธีการรักษาไปเป็นวิธีอื่น
เป็นต้น
3. เมื่อต้องการติดตามผลการรักษา
การตรวจประเมินเปรียบเทียบการรักษาระหว่างหลังการรักษา
และก่อนการรักษามีความจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากอาการของโรคแต่ละโรคมีความจำเพาะ
ไม่สามารถใช้การรักษาที่เหมือนกันได้ในทุกเคส หากนักกายภาพบำบัดทำการรูทีนการรักษา
อาจทำให้ได้ผลการรักษาที่ไม่ตรงจุด และส่งผลเสียต่อคนไข้ได้อีกด้วย
4. เมื่อทำการเปลี่ยนแผนการรักษา
เช่นเดียวกับข้อ 2 หากเราทำการเปลี่ยนแผนการรักษาก็ควรตรวจประเมินการตอบสนองของคนไข้ซ้ำไปด้วย เพื่อดูว่าการรักษาใหม่นั้นเหมาะสมกับอาการของคนไข้หรือเปล่า
เช่นเดียวกับข้อ 2 หากเราทำการเปลี่ยนแผนการรักษาก็ควรตรวจประเมินการตอบสนองของคนไข้ซ้ำไปด้วย เพื่อดูว่าการรักษาใหม่นั้นเหมาะสมกับอาการของคนไข้หรือเปล่า
รูปแบบการตรวจประเมินที่สามารถนำไปใช้ได้กับทุกคนไข้ (LLTRA)
ฟัง (Listen) ฟังประวัติปัจุบัน และประวัติในอดีต
ดู (Look) ตรวจประเมินสภาพร่างกายก่อนทำการรักษา
ทดสอบ (Test) ลงมือตรวจโครงสร้างที่คาดว่าจะมีพยาธิสภาพ
บักทึก (Record) บันทึกผลการตรวจ และวางแผนการรักษา
ตรวจประเมิน
(Assess) ทำการตรวจประเมินอาการของคนไข้ว่ามีการตอบสนองต่อการรักษาอย่างไรบ้าง
หากเราเป็นนักกายภาพบำบัดที่ดี การตรวจประเมินคนไข้เป็นประจำไม่เพียงส่งผลดีต่อตัวคนไข้เท่านั้น ยังผลให้นักกายภาพบำบัดมีความคิดที่จะพัฒนาตัวเองอยู่เรื่อยๆ ไม่ตีกรอบการวางแผนการรักษาของตนเอง สำหรับตอนที่ 3 ขอจบเพียงเท่านี้ครับ
Reference : Tidy's physiotherapy - Lynn Gaskell
Reference : Tidy's physiotherapy - Lynn Gaskell
No comments:
Post a Comment