ตอนที่ 2 ความสัมพันธ์ระหว่างความสมดุลของกล้ามเนื้อ กับการทำงาน และการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อ
ความสมดุลของกล้ามเนื้อ
(muscle balance) สามารถดูได้จาก ความยาวของกล้ามเนื้อ (muscle length) หรือ
ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ( muscle
strength ) agonist และ antagonist ซึ่งสองปัจจัยข้างต้นนี้เองจะเป็นตัวบอกว่ากล้ามเนื้อมีการทำงานที่ปกติหรือไม่
จนกระทั่งสามารถบอกพยาธิสภาพของกล้ามเนื้อมัดนั้นๆ ว่ามีความผิดปกติอย่างไร
อาทิเช่น เมื่อกล้ามเนื้อ Hamstring
มีการหดสั้น (tightness) ส่งผลทำให้ช่วงการเคลื่อนไหวของการเหยียดเข่าลดลง
(limit knee extension) และยังทำให้กล้ามเนื้อ antagonist
ของมัน นั่นคือ Quadricep muscles มีการทำงานลดลงอีกด้วย
ทั้งนี้เป็นเพียงแค่การมองที่ภายนอกเท่านั้น (extrinsic
view)
ดังที่ได้กล่าวไว้ในตอนที่
1 หากเราวิเคราะห์ไปในกลไกภายใน การหดสั้นของ Hamstring
muscle ไม่เพียงแต่ทำให้ช่วงการเคลื่อนไหวลดลงเท่านั้น
ยังส่งผลต่อ กล้ามเนื้อหลังที่จะต้องคงการเดินให้เป็นปกติ
โดยการเอียงตัวไปด้านที่ปกติ หรืออาจจะย่อขาข้างปกติลงมาเพื่อให้การเดินไม่ติดขัด
แต่ผลสุดท้ายจากการที่กล้ามเนื้อไม่สมดุลกัน ก็จะทำให้พยาธิสภาพแพร่กระจายต่อไปเรื่อยๆ
โดยมีสาเหตุมาจากจุดๆ เดียวเท่านั้น ดังแผนภาพที่จะแสดงให้ดูต่อไปนี้
การบาดเจ็บของโครงสร้าง และความเจ็บปวด
v
กล้ามเนื้อไม่สมดุล (หดรั้ง หรืออ่อนแรง)
v
ลักษณะของการเคลื่อนไหวที่ผิดแปลกไป
ดังนั้น
นักกายภาพบำบัดไม่ควรที่จะจำกัดแผนการรักษาไว้ที่โครงสร้างใด โครงสร้างหนึ่ง
และละเลยโครงสร้างโดยรอบ ควรคำนึงถึงโครงสร้างที่มีการทำงานเกี่ยวข้องร่วมด้วย
เพราะบางทีเราอาจกำลังแก้ที่ปลายเหตุอยู่ก็ได้ แล้วพบกันที่ ตอนที่ 3 ครับ
Reference : Assessment and treatment of muscle imbalance : the Janda approach / Phil Page, Clare Frank, Robert Lardner.
No comments:
Post a Comment