Total Pageviews

Tuesday, October 21, 2014

ตอนที่ 9 Neurophysiological components of muscle balance

ตอนที่ 9 Neurophysiological components of muscle balance



มาต่อกันในตอนที่ 9 นะครับ จากตอนที่แล้ว ผมทิ้งท้ายไว้เกี่ยวกับระบบประสาทที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ อันดับแรกเราต้องเข้าใจก่อนว่า สมองมีทั้งเส้นประสาทขาออก และเส้นประสาทขาเข้า ซึ่งทำหน้าที่ในการส่ง และ รับ สัญญาณประสาทเพื่อให้อวัยวะเป้าหมายทำงานได้ตามปกติ และเช่นเดียวกันกับกล้ามเนื้อ ที่ต้องมีการสั่งการ หรือแปลผลจากสมองก่อนว่าเราจะตอบสนองกับมันอย่างไร เราจะทำอะไรต่อไป ซึ่งเราจะเรียกการควบคุมการเคลื่อนไหวเหล่านี้ว่า "Motor Control"

การควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ (Motor control)

การตอบสนองของกล้ามเนื้อ ต่อกิจกรรมใดๆก็ตาม จะมีการแปลผลจากสมองก่อนที่จะสั่งการให้เกิดการเคลื่อนไหว สมองต้องทำการสั่งการลงมายังกล้ามเนื้อจำเพาะส่วน ให้เกิดการทำงานด้วยแรงที่เหมาะสม และเวลาที่เหมาะสม โดยจะเริ่มจากส่วน Stabilizer หรือ monoarticular joint และจากนั้นจะเพิ่มเป็นส่วน Mobilizer หรือ multiarticular joint เป็น การทำงานที่เกื้อหนุนกัน (Synergist)
และในการจัดการการเคลื่อนไหวจะอาศัยกลไก Feed forward ในการปรับเปลี่ยนการทำงานนั้นๆ (Richardson., 1992, Comerford and Mottram., 2001)

http://www.predatornutrition.com/blog/wp-content/uploads/2012/03/contracting-muscles.jpg
จากรูปจะเห็นว่าเมื่อมีการทำการงอแขน สมองจะ Feed forward ให้ Elbow extensor relaxed เพื่อทำให้กล้ามเนื้อ Elbow flexor ทำงานได้ตามปกติ นี้เป็นตัวอย่างคร่าวๆ ของ Feed forward) 

หน่วยยนต์ (Motor Unit)

หลายคนคงคุ้นกับคำว่า motor unit มากกว่าหน่วยยนต์นะครับ แต่ไม่ต้องตกใจครับความหมายมันเหมือนกัน ส่วนประกอบของหน่วยยนต์ประกอบไป ด้วย Motor Neuron หรือเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อ และ muscle fiber หรือใยประสาทที่มีเส้นประสาทมาเลี้ยง การทำงานของกล้ามเนื้อจะประกอบด้วยหลายๆ motor unit ที่ถูกสั่งการจากระบบประสาทให้เกิดการเคลื่อนไหว โดยผ่านใยกล้ามเนื้อเพียงสองประเภท คือ Type I และ Type II Fiber (ซึ่งจะพูดถึงในตอนต่อไปครับ) ใยกล้ามเนื้อสองส่วนนี้จะทำงานต่อเนื่องกันไปเป็นระบบ ตัวหนึ่งคลาย ตัวหนึ่งหดตัว สลับกันไปตามกิจกรรมนั้นๆ เพื่อให้เกิดความสมดุล แต่หากใยกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือหน่วยยนต์ใดหน่วยยนต์หนึ่งเกิดความผิดปกติขึ้น จะเกิดการทำงานแทนที่และเป็นดังกลไกเหมือนกับที่กล่าวไปแล้วในบทที่ 8 


บทความในตอนที่ 9 นี้คงทำให้เพื่อนๆ เข้าใจ Motor control และ motor unit มากขึ้นนะครับ และนายชาลีหวังว่าเพื่อๆจะได้ความคิดในการวางแผนการรักษามากขึ้นครับ พบกันใหม่ในตอนหน้าครับขอบคุณครับ

2 comments: