Total Pageviews

Tuesday, June 30, 2015

Anterior pelvic tilt

Anterior pelvic tilt


Poor posture may be caused by habits from everyday activities such as sitting in office chairs, staring at the computer etc.
As I told you that our body have 3 mechanisms to regulate our movement.
For example; sitting in office chairs - with this activity, your body need to maintain your upper trunk to focus at your task. One of the important part that you need to focus is your pelvic bone, this illustration can show you what happening meanwhile you sitting.

Anterior pelvic tilting will increase the tension in your hip flexor and back extensors and decrease the strength in your abdominals, glutes and hamstrings. For long term condition, it will significantly decrease your CORE STABILITY too.

Muscle to stretch
- Hip flexors
- Back extensors

Muscle to strengthening
- Abdominals
- Hamstrings
- Glutes

Sunday, June 21, 2015

Basic Mechanism of our human movement

Hello, everybody. For this topic I will explain about the basic mechanism of our human movement. Our brain send the command to active the muscle to create a single movement and every single movement that you created is only the extrinsic function that has been regulated by intrinsic function, the mechanism of our body to make the movement proper for the task and smooth.

Note : Functional movement or Extrinsic function such as Walking up stair, stand up, eating etc.

Intrinsic function including 3 main mechanisms
          1. Physiological
          2. Biomechanical
          3. Neuromuscular function

Physiological mechanism

      Physiological mechanism is based on the component of the specific movement, Muscle, Joint, Connective tissue etc., that working together to create the specific movement. Sometime you can't create the specific movement when you have an injury in some component of the movement but after it come back to normal, you can do it again. Most of the people that have an injury in their body didn't notice that they have an injury because our body have an protection mechanism to use surrounding muscle to compensate the movement, it's good but only in the short term because if you keep doing the compensation movement your brain will remember that abnormal pattern and it will be very difficult to come back to normal movement at that time.

Biomechanical mechanism
          Biomechanical mechanism is based on the movement of your joint both osteokinematic and arthrokinematic movement. So this mechanism can explain that why our movement can't use only one joint movement to finish a task or create a functional movement. This mechanism allow your physiological mechanism to create an abnormal movement.
Note : Osteokinematic is the big movement that you can see for example elbow extension, knee bending etc. and arthrokinematic is the small movement of joint surface.



Neuromuscular function
          This is the very important mechanism to create our movement. Even you have a very strong muscle but without this function, you can't control your muscle and your joint. Your body give a feedback of the movement to your brain to regulate the movement by the sensiromotor system, this system can control both Physiological and Biomechanical mechanism -- Joint proprioception, balance, reflex, motor control, motor learning.

http://thebrain.mcgill.ca/flash/d/d_06/d_06_cr/d_06_cr_mou/d_06_cr_mou_4a.jpg
         
At this point, you can see that the intrinsic function is very important for create the extrinsic movement or function. I hope that this topic will help you understand what is happening to your body while you are doing an ADL.

Reference : Assessment and treatment of muscle imbalance : the Janda approach / Phil Page, Clare Frank, Robert Lardner.



Tuesday, October 21, 2014

ตอนที่ 9 Neurophysiological components of muscle balance

ตอนที่ 9 Neurophysiological components of muscle balance



มาต่อกันในตอนที่ 9 นะครับ จากตอนที่แล้ว ผมทิ้งท้ายไว้เกี่ยวกับระบบประสาทที่ทำหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ อันดับแรกเราต้องเข้าใจก่อนว่า สมองมีทั้งเส้นประสาทขาออก และเส้นประสาทขาเข้า ซึ่งทำหน้าที่ในการส่ง และ รับ สัญญาณประสาทเพื่อให้อวัยวะเป้าหมายทำงานได้ตามปกติ และเช่นเดียวกันกับกล้ามเนื้อ ที่ต้องมีการสั่งการ หรือแปลผลจากสมองก่อนว่าเราจะตอบสนองกับมันอย่างไร เราจะทำอะไรต่อไป ซึ่งเราจะเรียกการควบคุมการเคลื่อนไหวเหล่านี้ว่า "Motor Control"

การควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ (Motor control)

การตอบสนองของกล้ามเนื้อ ต่อกิจกรรมใดๆก็ตาม จะมีการแปลผลจากสมองก่อนที่จะสั่งการให้เกิดการเคลื่อนไหว สมองต้องทำการสั่งการลงมายังกล้ามเนื้อจำเพาะส่วน ให้เกิดการทำงานด้วยแรงที่เหมาะสม และเวลาที่เหมาะสม โดยจะเริ่มจากส่วน Stabilizer หรือ monoarticular joint และจากนั้นจะเพิ่มเป็นส่วน Mobilizer หรือ multiarticular joint เป็น การทำงานที่เกื้อหนุนกัน (Synergist)
และในการจัดการการเคลื่อนไหวจะอาศัยกลไก Feed forward ในการปรับเปลี่ยนการทำงานนั้นๆ (Richardson., 1992, Comerford and Mottram., 2001)

http://www.predatornutrition.com/blog/wp-content/uploads/2012/03/contracting-muscles.jpg
จากรูปจะเห็นว่าเมื่อมีการทำการงอแขน สมองจะ Feed forward ให้ Elbow extensor relaxed เพื่อทำให้กล้ามเนื้อ Elbow flexor ทำงานได้ตามปกติ นี้เป็นตัวอย่างคร่าวๆ ของ Feed forward) 

หน่วยยนต์ (Motor Unit)

หลายคนคงคุ้นกับคำว่า motor unit มากกว่าหน่วยยนต์นะครับ แต่ไม่ต้องตกใจครับความหมายมันเหมือนกัน ส่วนประกอบของหน่วยยนต์ประกอบไป ด้วย Motor Neuron หรือเส้นประสาทที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อ และ muscle fiber หรือใยประสาทที่มีเส้นประสาทมาเลี้ยง การทำงานของกล้ามเนื้อจะประกอบด้วยหลายๆ motor unit ที่ถูกสั่งการจากระบบประสาทให้เกิดการเคลื่อนไหว โดยผ่านใยกล้ามเนื้อเพียงสองประเภท คือ Type I และ Type II Fiber (ซึ่งจะพูดถึงในตอนต่อไปครับ) ใยกล้ามเนื้อสองส่วนนี้จะทำงานต่อเนื่องกันไปเป็นระบบ ตัวหนึ่งคลาย ตัวหนึ่งหดตัว สลับกันไปตามกิจกรรมนั้นๆ เพื่อให้เกิดความสมดุล แต่หากใยกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่ง หรือหน่วยยนต์ใดหน่วยยนต์หนึ่งเกิดความผิดปกติขึ้น จะเกิดการทำงานแทนที่และเป็นดังกลไกเหมือนกับที่กล่าวไปแล้วในบทที่ 8 


บทความในตอนที่ 9 นี้คงทำให้เพื่อนๆ เข้าใจ Motor control และ motor unit มากขึ้นนะครับ และนายชาลีหวังว่าเพื่อๆจะได้ความคิดในการวางแผนการรักษามากขึ้นครับ พบกันใหม่ในตอนหน้าครับขอบคุณครับ

Monday, October 20, 2014

ตอนที่ 8 ความสัมพันธ์ของสมอง ต่อโครงสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อ


ตอนที่ 8 ความสัมพันธ์ของสมอง ต่อโครงสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อ 

Stability หรือความมั่นคง หลายคนคงคุ้นหูกับคำนี้นะครับ เพราะจะเจออยู่ในหลายๆ ส่วนของร่างกายเลยครับ เช่น core stability joint stability เป็นต้น แต่ความมั่นคงเหล่านี้ สามารถมองได้เป็นหลากหลายมุม ขึ้นอยู่กับว่าเค้า focus ไปที่ตรงไหนเช่น หมอ จะมองที่ตัวโครงสร้างโดยตรงว่า ligament หรือ spine ส่วนไหนที่ผิดปกติ และการ diagnosis จะออกมาในรูปแบบของโรค เช่น Spondylolithesis Spinal stenosis เป็นต้น

    แต่นักกายภาพบำบัดจะมองต่อยอดจากตัวโรคเหล่านี้ เพื่อให้รู้ปัญหาที่แท้จริงของคนไข้ โดยดุจาก พิสัยการเคลื่อนไหว การเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ ความตึงตัวของกล้ามเนื้อที่ไม่เท่ากัน เป็นต้น และจะ diagnosis โรคออกมาเป็นอาการสำคัญ เช่น ผู้ป่วยมีอาการปวดหลังร้าวลงขา เนื่องจาก .... มาเป็นเวลา ... เป็นต้น เพราะฉะนั้นหากนักกายภาพบำบัดไม่สามารถมองหาอาการสำคัญของคนไข้ได้ก็จะไม่สามารถแก้ไขปัญหาของคนไข้ได้ตรงจุด และมีประสิทธิภาพเพียงพอ โดยสามารถสรุปการมองภาวะความไม่มั่นคงของคนไข้ได้จาก Model ดังต่อไปนี้

http://img.medscape.com/fullsize/migrated/555/045/nf555045.fig1.gif

    สมองจะทำหน้าที่ในการสั่งการให้กล้ามเนื้อทำงาน (active subsystem) ไปพร้อมกับที่สั่งการให้ Spine ทำงาน (passive subsystem) แต่หน้าที่ในการทำงานจะแตกต่างกันออกไป ส่วน passive subsystem จะเป็นส่วน stabilizer เพื่อให้เกิด stability และส่วน active subsystem จะเป็นส่วน mobilizer เพื่อให้เกิด mobility หลังจากที่สมองสั่งการเคลื่อนไหว และเกิดการเคลื่อนไหวเรียบร้อยแล้วนั้น ส่วนของ Active และ Passive subsystem จะทำหน้าที่ในการส่ง feedback มายังสมอง เพื่อทำการปรับเปลี่ยนให้การเคลื่อนไหว Smooth มากขึ้น แต่หากเกิดความผิดปกติของระบบ Active Subsystem สิ่งที่ตามมาคือ สมองจะสั่งให้ร่างกายมีการ compensate movement โดยกล้ามเนื้อโดยรอบ เช่นเดียวกับในส่วนของ Passive subsystem ดังนั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น สมองจะทำการจดจำว่าการเคลื่อนไหวใหม่ที่เกิดขึ้นนี้เป็นการเคลื่อนไหวที่ปกติ และทำการเคลื่อนไหวต่อไปเรื่อยๆ จนเกิดอาการบาดเจ็บเรื้อรังขึ้น ดังแผนภาพต่อไปนี้

เพราะฉะนั้นแล้วหากเราสามารถป้องกันการเกิดปัญหาได้ตั้งแต่การแก้ไข compensatory movement ให้กลับมาเป็น Normal movement ได้ปัญหาที่เกิดขึ้นก็จะหายไปครับ แล้วพบกันใหม่ในตอนต่อไปครับ

 
Reference : Tidy's physiotherapist - Alan chamberlain, Wendy Munro and Alec Rickard

Tuesday, October 14, 2014

ตอนที่ 7 Mobility VS Stability


 ตอนที่ 7 Mobility VS Stability


สวัสดีครับวันนี้จะมาแนะนำต่อจากหัวข้อที่ 5 หลังจากที่เราได้ทราบถึงภาวะ Muscle imbalance ไปแล้วเรามาพูดกันต่อถึงเรื่องการทำงานของกล้ามเนื้อโดยรวมกันครับ
    การเคลื่อนไหวภายในร่างกายมนุษย์ เป็นการเคลื่อนไหวที่ค่อนข้างซับซ้อน มีการทำงานของกล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว และร่วมถึงที่ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวไปพร้อมๆ กัน
โดยสามารถแบ่งได้เป็น Stability และ Mobility muscle

 
    Mobility muscle คือกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการเคลื่อนไหวเป็นหลัก อาทิเช่น เมื่อเราทำการงอแขน กล้ามเนื้อหลักที่ทำงานคือ Bicep brachii เป็นต้น
    Stabillity muscle คือกล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่ในการคงความมั่นคงของกล้ามเนื้อรอบๆข้อต่อที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหว เช่น Rotator cuff muscles จะเพิ่มความมั่นคงต่อข้อไหล่เมื่อมีการงอแขน เป็นต้น


just right
too tight
    
 too loose
มองเห็นอะไรบางครับ ? สามภาพด้านบนเป็นตัวอย่างการมองคนไข้นะครับว่าถ้าช่วงการเคลื่อนไหวลดลง หรือเพิ่มขึ้นเราควรไปมองที่ตรงไหนก่อน และจะวางแผนการรักษายังไงให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด แล้วพบกันใหม่ตอนหน้าครับ 

Reference : Tidy's physiotherapist - Alan chamberlain, Wendy Munro and Alec Rickard